สำหรับ วิตามินบี 12 มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเม็ดเลือดให้กับร่างกาย ทั้งยังช่วยเสริมสร้างและบำรุงประสาทให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยวิตามินบี 12 สามารถพบเจอได้จากแหล่งโปรตีนและเนื้อสัตว์เป็นหลัก เช่น อาหารทะเล ไข่ ปลา ตับ รวมถึงอาหารที่ทำมาจากนม เป็นต้น หากร่างกายของเราไม่ได้รับวิตามินบี 12 อย่างเพียงพอเป็นประจำทุกวัน ปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ขึ้นได้ในระยะยาว วันนี้เราจึงนำสาระดีๆ เกี่ยวกับวิตามินบี 12 มาเล่าให้ทุกคนฟังกัน
ถ้าร่างกายของเรากำลังขาดวิตามินบี12 ก็อาจทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ เช่น โรคโลหิตจาง โรคเกี่ยวกับระบบประสาท อาการชาตามปลายมือปลายเท้า ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง การเบื่ออาหารจนน้ำหนักลดลง รวมถึงโรคซึมเศร้า และโรคอื่นๆ อีกมากมาย โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี12 สามารถพบได้ในกลุ่มเสี่ยงดังนี้
1.ผู้สูงอายุ ที่ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินบี12 ได้น้อยลง
2.ผู้ที่ทานอาหารมังสาวิรัติอย่างเคร่งครัดในระยะเวลาที่ยาวนาน จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินบี12เพิ่ม
3.ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้
4.ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารเรื้อรัง
อาการเหล่านี้พบได้ทั่วไป เมื่อปริมาณวิตามินลดลงร่างกายของเราก็จะผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยลง ซึ่งวิตามินบี12 ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการกระจายตัวของออกซิเจน เมื่อเราขาดการทานวิตามินบี 12 ก็อาจทำให้มีอาการง่วงนอน อ่อนเพลียและเหนื่อยง่ายได้
อาการเหล่านี้มาพร้อมกับการขาดวิตามิน B12 ซึ่งวิตามินตัวนี้จะมีส่วนช่วยในการผลิตเฮโมโกลบิน แต่ถ้าขาดวิตามินชนิดนี้ อาจทำให้การไหลของออกซิเจนในเนื้อเยื่อลดลง ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางและอาจนำไปสู่อาการหายใจถี่และอาการอ่อนเพลียร่วมด้วยได้ หากใครที่มีอาการเหล่านี้ ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกายจะดีที่สุด
หากร่างกายของเรากำลังเผชิญกับอาการขาดวิตามินบี12 อาจก่อให้เกิดเซลล์ประสาทในร่างกายเสื่อมลงได้ และนำไปสู่อาการเหน็บชาทั่วทั้งร่างกายได้ โดยวิตามินชนิดนี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างไมอีลิน ซึ่งทำหน้าที่ในการรับและส่งกระแสประสาท นอกจากนี้การที่ร่างกายไม่ได้รับวิตามินบี12 เป็นเวลานานๆ อาจทำให้กระดูกไขสันหลังเสื่อมสภาพลงได้ ทั้งยังส่งผลต่อเนื้อเยื่อในสมอง และระบบเส้นประสาทส่วนปลายได้เช่นกัน
อาการที่เห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งคือ สีผิวหรือดวงตาจะกลายเป็นสีเหลือง ซึ่งในทางการแพทย์ได้ระบุว่า การผลิตเม็ดเลือดแดงนั้นขึ้นอยู่กับวิตามินบี12 เป็นหลัก และเมื่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่สามารถผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางในเม็ดเลือดแดงได้นั่นเอง
ส่วนมากอาการเหล่านี้มักจะพบได้ในผู้ที่ทานอาหารมังสวิรัติหรือผู้ที่ไม่ทานเนื้อสัตว์เป็นหลัก รวมถึงผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี 12 ขึ้นได้ เนื่องจากร่างกายได้รับวิตามินบี12 ที่ไม่เพียงพอ จึงทำให้การสังเคราะห์ DNA บกพร่อง ส่งผลให้เซลล์เยื่อบุบริเวณริมฝาปากทำงานผิดปกติและก่อให้เกิดลิ้นอักเสบขึ้นได้
สำหรับคนที่ปัญหาเกี่ยวกับช่องท้องบ่อยๆ อาจเป็นเพราะร่างกายของกำลังขาดวิตามินบี12 อยู่ก็เป็นได้ ซึ่งผลที่ตามมาของการขาดวิตามินบี12 ได้แก่ ท้องผูกเรื้อรัง ท้องไส้ปั่นป่วน มีแก๊ส ท้องร่วง รวมถึงอาการเบื่ออาหาร เป็นต้น หากใครที่กำลังมีอาการเหล่านี้อยู่บ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของกำลังขาดวิตามินบี12 อยู่ก็เป็นได้
การทานอาหารที่มีวิตามินบี 12 อุดมอยู่ด้วยจะช่วยเสริมสร้างการทำงานในระบบประสาทตาให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยรักษาผู้ที่ป่วยเป็นโรคต้อหินได้อีกด้วย
เนื่องจากในวิตามินบี 12 อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนเซโรโทนิน หากร่างกายไม่ได้รับการทานวิตามินบี 12 ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะนำไปสู่ปัญหาของโรคซึมเศร้าขึ้นได้ ทั้งยังส่งผลต่อพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย
วิตามินบี12 เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างเซลล์กระดูกให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ดังนั้นหากร่างกายของเราขาดวิตามินบี12 อาจส่งผลให้ระบบในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ และอาจนำไปสู่โรคกระดูกพรุนหรือกระดูกเปราะขึ้นได้ ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากการสูญเสียเนื้อเยื่อที่เกิดจากการขาดสารอาหารสำคัญอย่างวิตามินบี 12 นั่นเอง
หากใครเริ่มมีอาการขาดวิตามินบี12 แสดงออกมาในระดับปานกลาง ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่เกิดขึ้นให้แน่ชัด เพราะการขาดวิตามินบี12 อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ และในบางครั้งอาการที่เกิดขึ้นนี้ก็อาจมาจากสาเหตุอื่นร่วมได้ ดังนั้นแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี 12 จากสาเหตุเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นระยะเวลานาน ผู้ที่มีภาวะผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร หรือผู้ที่ใช้ยาชนิดที่ส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินบี 12 ก็ควรควรมาปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี